วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558


หน่วยที่ 5
พระไตรปิฏกและพุทธศาสนสุภาษิต


          พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ
พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย 
พระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมาก หลายหมวด หลายประเภท อ่านเพิ่มเติม...




หน่วยที่ 4
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

 1.ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ คือ องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม อ่านเพิ่มเติม...



หน่วยที่ 3
วันสําคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี
          ระเบียบพิธี พิธีเวียนเทียน การปฏิบัติตนในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นวันที่ชาวพุทธทั่วโลกยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับพระรัตนตรัย และเหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ ในรอบหนึ่งปีกำหนดไว้ ๖ วัน คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา อ่านเพิ่มเติม...



หน่วยที่ 2
พุทธประวัติและชาดก
          มีพระนามเดิมว่า “สิทธัตถะ” เป็นราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กับ”พระนางสิริมหามายา”  ประสูติ ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละ (ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) พราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ ถ้าดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่ โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันว่า จะได้ออกบวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน อ่านเพิ่มเติม...


หน่วยที่ 1
ประวัติและความสําคัญของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนามีหลักการและทฤษฎีที่เป็นสากล คือ หลักอริยสัจ 4 หมายถึง หลักความจริงอันประเสริฐของชีวิตมี 4 ประการคือ

 1. ทุกข์ (ความไม่สบายกายและใจ) สอนว่า    ชีวิต และโลก นี้มีปัญหาอะไรบ้าง 
 2. สมุทัย (สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์) สอนว่า  “ ปัญหาต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุ  มิได้เกิดขึ้นมาลอย ๆ 
 3. นิโรธ (วิธีการดับทุกข์) สอนว่า   มนุษย์มีศักยภาพในตัวเอง ที่จะสามารถแก้ปัญหาได้เอง 
 4. มรรค (แนวทางการปฏิบัติให้ถึงการดับทุกข์) สอนว่า การแก้ปัญหาต้องใช้ปัญญา (ความรู้และความเพียรพยายาม)
อริยสัจ 4 เป็นหลักความจริงที่มีหลักการเป็นที่ยอมรับสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นหลักสากลยอมรับทั่วไป อ่านเพิ่มเติม...